center-left.png center-right.png
ผู้บริหาร

นายวันชัย เกิดมีโภชน์
ผอ.สพป.อุทัยธานี เขต 2
Krupey08@gmail.com
purple-btm-left.png purple-btm-right.png
โครงสร้างเขต2












purple-btm-left.png purple-btm-right.png
ผู้กำลังออนไลน์
bullet.gif บุคคลทั่วไปออนไลน์: 1

bullet.gif สมาชิกออนไลน์: 0

bullet.gif สมาชิกทั้งหมด: 110
bullet.gif สมาชิกใหม่: supervisor
blank.gif blank.gif
เข้าสู่ระบบ
ชื่อ

รหัสผ่าน



ไม่ได้เป็นสมาชิก?
คลิกที่นี่ เพื่อลงทะเบียน.

ลืมรหัสผ่าน?
ขอรหัสผ่าน ที่นี่.
blank.gif blank.gif
รอง ผอ.เขต 2

นางเกล็ดดาว สุวรรณบาตร์
081-707-0401
saouthai99@gmail.com


นายแสงชัย ธรรมนิยม
095-490-2507
S.thamniyom19@gmail.com


นายเสถียร อ่วมพรหม
095-307-3482
081-2330744
EMail:


นายวินัย พรมแจ่ม
081-887-8790
EMail:


นายวิทยา เอี้ยงหมี
061-541-9455
Wittaya.ut2@gmail.com
purple-btm-left.png purple-btm-right.png
ระบบงานออนไลน์



























purple-btm-left.png purple-btm-right.png
วิธีสมัครสมาชิกและโทรศัพท์เขต 2
เงื่อนไขการสมัครสมาชิกเว็บไซต์
1) ผู้สมัครต้องใช้ชื่อที่บ่งบอกตัวตนเป็นภาษาอังกฤษ
2) ผู้สมัครต้องระบุที่อยู่จริงเป็นภาษาไทย
3) ผู้สมัครโทรถึง 081-233-0744 เพื่ออนุมัติ
***เข้าระบบไม่ได้ติดต่อ
โทร. 081-233-0744

นางเกล็ดดาว สุวรรณบาตร์
รอง ผอ.สพป.อุทัยธานี เขต 2
081-707-0401
saouthai99@gmail.com
นายแสงชัย ธรรมนิยม
รอง ผอ.สพป.อุทัยธานี เขต 2
095-490-2507
S.thamniyom19@gmail.com
นายเสถียร อ่วมพรหม
รอง ผอ.สพป.อุทัยธานี เขต 2
095-307-3482
นายวินัย พรมแจ่ม
รอง ผอ.สพป.อุทัยธานี เขต 2
081-887-8790
นายวิทยา เอี้ยงหมี
รอง ผอ.สพป.อุทัยธานี เขต 2
Wittaya.ut2@gmail.com

นายปราโมทย์ ว่องวิกย์การ
ผอ.กลุ่มอำนวยการ
080-8408549
กลุ่มอำนวยการ
056-531-356
088-586-5502
Fax 056-531-171
นางดวงกมล บุญรักษา
ผอ.หน่วยตรวตสอบภายใน
086-441-6918
หน่วยตรวจสอบภายใน
088-586-5503
นายนิติ แกว่นกสิกร
ผอ.กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
088-282-8808
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
081-233-0744
utt2.go.th@gmail.com
นายธีรยุทธ ภูเขา
ผอ.กลุ่มนิเทศ ติดตามฯ
084-801-4099
tirayut168@yahoo.com
กลุ่มนิเทศฯ
081-233-0745
นางสาวรัญจวน แจ่มจันทร์
ผอ.กลุ่มบริหารงานการเงินฯ
086-934-0859
กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์
081-233-0741
ranjuan1@hotmail.com
นางวรลักษณ์ ปัทมเบญจกุล
ผอ.กลุ่มนโยบายและแผน
080-1175845
purple-btm-left.png purple-btm-right.png
เมนู
blank.gif blank.gif
เว็บลิ้งก์

















purple-btm-left.png purple-btm-right.png
ช่องทางเรื่องร้องเรียน

purple-btm-left.png purple-btm-right.png
เว็บข่าวสาร












purple-btm-left.png purple-btm-right.png
Smart ICT









purple-btm-left.png purple-btm-right.png
ดูกระทู้
 พิมพ์กระทู้
รมช.ศธ."พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ลงพื้นที่ ครม.สัญจร จังหวัดเพชรบูรณ์
admin
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ/นโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาและการจัดการเรียนการสอนตามโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช.) ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบูรณ์ ติดตามผลการดำเนินงานของสำนักงาน กศน.ตำบลบุ่งน้ำเต้า และติดตามผลโครงการห้องเรียนกีฬา รวมทั้งรับฟังปัญหาความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน ที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันจันทร์ที่ 17 กันยายน​ 2561 ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 7/2561 ณ จังหวัดเพชรบูรณ์


- ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา และโครงการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบูรณ์ อำเภอ​หล่มสัก


พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุมรับฟังผลการดำเนินงานขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ของศูนย์ย่อย 2 ศูนย์ คือ ภาคเหนือตอนล่าง 1 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 1 รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานโครงการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท ในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และวิทยาลัยประมง รวม 48 แห่งทั่วประเทศ


ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา กล่าวรายงานผลการดำเนินงานขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ของศูนย์ย่อย 2 ศูนย์ คือ


1) ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคเหนือตอนล่าง 1 (NEC TVET Career Center) ประกอบด้วยจังหวัดตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ มีสถานศึกษาภาครัฐ 26 แห่ง และสถานศึกษาเอกชน 12 แห่ง โดยมีความก้าวหน้างานทั้ง 5 ภารกิจในหลายส่วน อาทิ มีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการผลิตกำลังคน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561-2563 ประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการกว่า 320 แห่ง นำเข้าข้อมูลความต้องการในระบบ Big Data System พร้อมเชิญชวนสถานประกอบการมาร่วมมืออย่างต่อเนื่อง และนำเข้าที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด


นอกจากนี้ ได้จัดส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนอย่างหลากหลาย ทั้งทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 1,610 คน, เข้าร่วมโครงการ E to E 1,830 คน ใน 122 วิชา ตลอดจนเข้าค่ายภาษาอังกฤษ English Camp กว่า 1,434 คน ในส่วนของครูได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กว่า 100 คน และร่วมโครงการพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการ 60 คน และระดมความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท, สมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย, บริษัท CP ALL สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล, Fredrich-List-Schule เยอรมนี เป็นต้น รวมทั้งมีการขึ้นทะเบียนครูพิเศษอาชีวศึกษา 23 คน


โดยขณะนี้ได้เตรียมการพัฒนาและเปิดหลักสูตรใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการในพื้นที่ อาทิ สาขางานช่างอากาศยาน สาขางานระบบรางขนส่ง สาขาดูแลผู้สูงอายุ สาขางานท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สาขางานสถานพยาบาลครบวงจร เป็นต้น ในส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์มีสาขาวิชาที่เป็นที่นิยม 5 อันดับแรก ได้แก่ สาขาวิชาช่างยนต์ สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชาช่างกลโรงงาน นอกจากนี้ ยังได้ร่วมโครงการขับเคลื่อนสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมอาชีวศึกษา เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม จำนวน 10 ชิ้นงาน อาทิ เครื่องคั่วพริก ชุดแจ้งเตือนประสิทธิภาพและความสกปรก ของแผ่นกรองเครื่องปรับอากาศผ่านระบบไลน์


2) ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 1 (NEEC TVET Career Center) ประกอบด้วย จังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย และบึงกาฬ โดยมีความก้าวหน้างานทั้ง 5 ภารกิจในหลายส่วน อาทิ มีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการผลิตกำลังคน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561-2563 พร้อมมีแผนจัดฝึกอบรม Big Data System แก่สถานประกอบการกว่า 2 หมื่นแห่ง และประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเพื่อขยายการนำเข้าข้อมูลความต้องการต่อไป


สำหรับการส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนเข้าสู่มาตรฐานวิชาชีพ ทั้งการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ 6,560 คน การแข่งขันทดสอบทักษะวิชาชีพ 4,430 คน ทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ (TOEIC) 356 คน พร้อมได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านงบประมาณ เครื่องมืออุปกรณ์ ทุนการศึกษา ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ และมีแผนที่จะพัฒนาและเปิดหลักสูตรใหม่ เพื่อการมีงานทำและสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ อาทิ สาขาโลจิสติกส์ สาขางานอาหารเพื่อการท่องเที่ยว สาขาช่างซ่อมบำรุง สาขางาน MICE เป็นต้น นอกจากนี้มีบุคลากรจากภาคเอกชนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นครูพิเศษอาชีวศึกษา อาทิ บริษัท อุดรกระจกรถยนต์ จำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัด เซฟ-เวย์ คาร์เซ็นเตอร์ เป็นต้น


พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการที่ได้รับฟังรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวศึกษา ต้องขอชื่นชมที่ทุกคนทุกฝ่าย มีความมุ่งมั่นตั้งใจขับเคลื่อนงานให้เกิดความก้าวหน้ามาโดยลำดับ พร้อมขอฝากแนวทางและหลักคิดในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาและต่อยอดแผนงานให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น ดังนี้


1.ขอให้มีการทบทวนการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลให้ถูกต้องตามภารกิจทั้ง 5 ด้าน พร้อมร่วมกันพิจารณาการเพิ่มหรือลดหลักสูตร ตามลำดับความเร่งด่วน และคำนึงถึงความต้องการกำลังคน (Demand side) เพื่อให้การวางแผนการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษามีความสมบูรณ์ และสอดคล้องเชื่อมโยงกับการพัฒนาในระดับพื้นที่ ท้องถิ่น ต่อยอดไปถึงระดับประเทศ


2.เร่งดำเนินการจัดตั้งศูนย์กลางของ Big Data System ด้านอาชีวศึกษา พร้อมรวบรวมข้อมูลให้มีความถูกต้อง สมบูรณ์ และครอบคลุมในทุกระดับ ที่จะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ทั้งนี้ให้ดำเนินการโดยทันที ตลอดจนเน้นความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลเป็นสำคัญ


3.การขึ้นทะเบียนครูพิเศษอาชีวศึกษาอุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งเริ่มต้นในพื้นที่จังหวัดชลบุรีแล้ว และอยู่ระหว่างการประสานเชิญชวนผู้มีประสบการณ์ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ มาเป็น "ครูพิเศษ" ในพื้นที่อื่นมากขึ้น โดยคาดว่าภายในเดือนกันยายน 2561 นี้ จะสามารถขึ้นทะเบียนครูพิเศษได้ไม่น้อยกว่า 100 คน โดยมุ่งหวังให้โรงงานอุตสาหกรรม 4.0 และสถานประกอบการต่าง ๆ เป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์ให้กับนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาด้วย


3.การขับเคลื่อนสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมอาชีวศึกษา เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ซึ่งเป็นการเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษาอาชีวศึกษา เน้นความร่วมมือของนักประดิษฐ์และสถานประกอบการเพื่อนำสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของนักศึกษาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม เมื่อดำเนินการขับเคลื่อนครบทั้ง 6 ภาคแล้ว ขอให้รวบรวมสรุปผลการดำเนินโครงการและประเมินผลเพื่อวางแผนการทำงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ด้วย


4.โครงการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท หรือ อศ.กช. ในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และวิทยาลัยประมง รวม 48 แห่งทั่วประเทศ โดยการจัดการเรียนการสอนที่ใช้อาชีพเป็นฐาน พร้อมกลยุทธ์ของ Best Practice กลุ่มเกษตรกรเก่า ประสานความร่วมมือกับกลุ่ม Young Smart Famer เพื่อสร้างโอกาส และการเข้าถึงการศึกษาให้แก่ประชาชนในชนบท ให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะ นำไปประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ โดยมีแผนขยายเป้าหมายของกลุ่มผู้เรียนอาชีวศึกษาให้เพิ่มมากขึ้น โดยในปีการศึกษา 2561 มีนักศึกษาโครงการ อศ.กช. รวมทั้งสิ้น 5,936 คน ทั้งนี้หากมีผู้สนใจเข้าศึกษาหรือเยี่ยมชมโครงการฯ สามารถสอบถามได้ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งถือว่า อศ.กช. เป็นโครงการที่ดี และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมให้ประชาชนได้พัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยขอให้มีการสำรวจและรวบรวมผลการดำเนินงาน เพื่อนำมาประเมินผลและพิจารณาแนวทางการพัฒนาต่อไป


รมช.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า การดำเนินการทุกอย่างต้องดูความต้องการของประชาชนและทิศทางการพัฒนาประเทศเป็นหลัก โดยเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อนักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชน และสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมมีแผนการดำเนินงานที่มีความชัดเจน ทั้งในเรื่องของนโยบายและการปฏิบัติ ที่จะช่วยให้เกิดความยั่งยืนทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยยึดหลักคิด "ริเริ่ม รวดเร็ว รอบคอบ รอบด้าน เรียบร้อย" เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้



ที่มา สำนักงานรัฐมนตรี
 
ไปยังฟอรั่ม:
purple-btm-left.png purple-btm-right.png
centerb-left.png centerb-right.png